คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานักส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงาน (4 ภาค) ประจำภาคกลางและภาคใต้

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

17.06.2567
38
0
แชร์
17
มิถุนายน
2567

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานักส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงาน (4 ภาค) ประจำภาคกลางและภาคใต้

 

 

รูปแบบการประชุมเป็นการบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงาน ตามหลักสูตรการส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงาน หรือเรียกว่า 13 ชั่วโมง สุขภาพดี มี.ไว้.ใช้. โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ใช้เวลาเรียนครบทั้งหลักสูตร 13 ชม. สุขภาพดีด้วยหลักการส่งเสริมสุขภาพของกรมอนามัย 3อ 2ส 1ฟ 1น ได้แก่ 3อ อาหารที่มีประโยชน์ อารมณ์ดีไม่เครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ / 2ส ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่
/1ฟ มีสุขภาพช่องปากและฟันดี และ1น นอนหลับอย่างมีคุณภาพ 7 - 9 ชม. ต่อวัน มี.ไว้.ใช้. คือ มีอาชีพมั่นคง ไว้สู่สูงวัยอย่างมั่นใจ ใช้ชีวิตอิสระ ซึ่งการประชุม ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์อนามัย สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง (สสม.)
และ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวนทั้งสิ้น 75 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯ ประจำศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯด้วยหลักสูตร 13 ชม.สุขภาพดี มี.ไว้.ใช้.และจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯ โดยศูนย์อนามัยและ พมจ จังหวัดในเขตพื้นที่ร่วมสนับสนุนเป็นทีมพี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์บริการคนพิการทั่วไปต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯ ในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯ ร่วมสร้างให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สู่การมีสุขภาพดี ห่างไกลโรค ทั้งต่อตนเองและคนพิการฯในพื้นที่ต่อไป

 

ผลสัมฤทธิ์ในการจัดประชุม :

  1. ได้นักส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงาน ประจำภาคกลางและภาคใต้ ที่สามารถเป็นผู้นำ
    ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายได้
  2. เกิดโครงการส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯจากศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ที่สามารถขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯ ในระดับพื้นที่และพัฒนาเป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯต้นแบบต่อไป
  3. เกิดทีมพี่เลี้ยงงานส่งเสริมสุขภาพคนพิการฯที่มาจาก
    ศูนย์อนามัยและสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ประจำภาคกลางและภาคใต้

 

แนวทางการดำเนินงานต่อเนื่อง :

พัฒนานักส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงานและทีมพี่เลี้ยง ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เพื่อให้ครอบคลุมทั้งประเทศต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน