คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ตามโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ครั้งที่ 1/2568

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.12.2567
6
0
แชร์
25
ธันวาคม
2567

 

การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ตามโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี
เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ครั้งที่ 1/2568

 

 

      เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ มอบหมายให้
แพทย์หญิงพรเลขา บรรหารศุภวาท นายแพทย์เชี่ยวชาญ รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ พร้อมด้วยนางบังอร สุภาเกตุ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้าศูนย์ประสานงานโครงการพระราชดำริฯ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ตามโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ครั้งที่ 1/2568 
ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 7 ชั้น 6 สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุม


      ประธานการประชุมได้แจ้งคำสั่งคณะกรรมการพัฒนาระบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ตามโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ และผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข เป็นกรรมการ ทั้งนี้นางบังอร สุภาเกตุ หัวหน้าศูนย์ประสานงานโครงการพระราชดำริฯ เป็นผู้แทนกรมอนามัย นำเสนอแผนการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีเป้าหมายและตัวชี้วัดการดำเนินงาน ดังนี้

(1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำผ่านการอบรมด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 80

(2) เรือนจำ ทัณฑสถาน สถานกักขัง มีรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากอย่างน้อย 1 รูปแบบ ร้อยละ 100

(3) สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนมีรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากอย่างน้อย 1 รูปแบบ ร้อยละ 50

(4) ผู้ต้องขัง เด็กและเยาวชน ได้รับบริการส่งเสริบป้องกันรักษา และฟื้นฟูทางทันตกรรม ตามความจำเป็น ร้อยละ 60 และ

(5) เรือนจำมีการพัฒนายกระดับด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามมาตรฐานสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต สำหรับผู้ต้องขัง ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 80 ให้ที่ประชุมรับทราบและร่วมกันขับเคลื่อนงานต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน