คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประชุมคณะกรรมการพัฒนาและขับเคลื่อนวิชาการ กรมอนามัย (กพว.) ครั้งที่ 1/2568

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.12.2567
14
0
แชร์
16
ธันวาคม
2567

 

การประชุมคณะกรรมการพัฒนาและขับเคลื่อนวิชาการ กรมอนามัย (กพว.)

ครั้งที่ 1/2568

 

 

      เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ มอบหมายให้ ทันตแพทย์หญิงศิรดา เล็กอุทัย ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตสาธารณสุข) รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ หัวหน้ากลุ่มสนับสนุนวิชาการ การวิจัยและนวัตกรรม และคณะ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและขับเคลื่อนวิชาการ กรมอนามัย (กพว.) ครั้งที่ 1/2568 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.นายแพทย์ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานการประชุม  ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาและขับเคลื่อนวิชาการ กรมอนามัย (กพว.) และผู้เกี่ยวข้อง สามารถสรุปประเด็นได้ ดังนี้

  1. ปรับปรุงโครงสร้างคณะอนุกรรมการ โดยลดจำนวนอนุกรรมการจาก 4 ชุดเหลือ 2 ชุด ได้แก่

- คณะอนุกรรมการด้านการวิจัย การจัดการความรู้ และนวัตกรรม

- คณะอนุกรรมการด้านระบบเฝ้าระวังด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

  1. การจัดการความท้าทายในงานวิจัย

- การทำวิจัยที่หัวข้อมาจากความต้องการของผู้ทำวิจัย (Demand) ไม่ได้มาจากองค์กรหรือผู้ใช้งาน (Supply)

- ขาดกลยุทธ์และเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับการวิจัย

- การสนับสนุนผู้วิจัยยังไม่เพียงพอ เช่น การฝึกอบรมและการให้คำปรึกษา

- โอกาสในการแบ่งปันความรู้และความร่วมมือยังมีจำกัด

- กระบวนการทางระบบราชการที่ยุ่งยาก เช่น การจดสิทธิบัตร

- การเผยแพร่ผลงานวิจัยยังมีข้อจำกัด เช่น ความล่าช้าในการตีพิมพ์

- กรมอนามัยเป็นหน่วยงานวิชาการระดับประเทศ ควรจะมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายหรือหน่วยงานวิชาการอื่นในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

  1. การส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ

- ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนและคุณภาพของผลงานตีพิมพ์ โดยมุ่งเน้นวารสารที่มีผลกระทบสูง

- พี่เลี้ยงทางวิชาการ (Academic Coach) พัฒนาพี่เลี้ยงให้มีศักยภาพ (Potential) และสมรรถนะ (Competency) เพื่อเป็นที่ปรึกษางานวิชาการและการทำ อวช.

- สนับสนุนงานวิจัยที่นำไปใช้ได้จริงและสอดคล้องกับนโยบาย

- พัฒนาและส่งเสริมการจัดการความรู้

  1. แนวทางแก้ไขปัญหาความซื่อสัตย์ทางวิชาการ

- ปัญหาการลอกเลียนงานวิจัย (Plagiarism) และการลอกเลียนตัวเอง (Self-Plagiarism)

- ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องจริยธรรมทางวิชาการและการปฏิบัติตามมาตรฐาน

สรุปเป้าหมายการพัฒนาและขับเคลื่อนวิชาการที่สำคัญ ดังนี้

- ยกระดับงานวิจัยและบทความตีพิมพ์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น

- สร้างระบบการสนับสนุนที่แข็งแกร่งสำหรับผู้วิจัย

- ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยที่สอดคล้องกับภารกิจของกรม

- สนับสนุนวัฒนธรรมจริยธรรมในการวิจัย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน