คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.11.2567
16
0
แชร์
20
พฤศจิกายน
2567

 

ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน

โครงการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

(LGBTQIAN+)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

 

 

      เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุมสำนักส่งเสริมสุขภาพ ชั้น 3 อาคาร 7 กรมอนามัย และในระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับกลุ่ม LGBTQIAN+ ซึ่งจะช่วยให้บุคคลกลุ่มนี้สามารถดูแลและจัดการสุขภาพที่ตรงตามความต้องการโดยใช้ข้อมูลความรู้ที่จำเพาะเจาะจง นอกจากนี้ยังส่งเสริมความเข้าใจและการยอมรับในสังคม ลดการเลือกปฏิบัติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการมีสุขภาพที่ดีในทุกมิติทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมต่อไป

 

      โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกและผู้แทนชุมชนจากสมาคม/มูลนิธิที่เกี่ยวข้อง LGBTQIAN+ ผ่านระบบประชุมออนไลน์จำนวนทั้งสิ้น 26 คน เช่น ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ดร.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร วิทยากรและที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ดิ อัลทิเมท ลีดเดอร์ จำกัด ผศ.รณภูมิ สามัคคีคารมย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและสื่อสารองค์กร ม.ธรรมศาสตร์ คุณณชเล บุญญาภิสมภาร ประธานมูลนิธิซิสเตอร์ และรองประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน คุณนฤนาท มะเรืองศูนย์ มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน คุณสุมาลี โตกทอง ข้ามเพศมีสุข คุณสนธญา ห้วยหงษ์ทอง เครือข่ายสุขภาพและโอกาส คุณธนิชา ธนะสาร ประธานกลุ่มเพียงพอดี จ.เชียงใหม่ คุณเจษฎาพร ทองงาม กลุ่มพะยูนศรีตรัง คุณฐิติญานันท์ หนักป้อ มูลนิธิซิสเตอร์ คุณกุสุมา จันทร์มูล Full Yin Women Wellbeing Center ผู้แทนมูลนิธิความหลากหลายทางเพศ ผู้แทนสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ผู้แทนมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (Swing) ผู้แทนกลุ่มเพียงพอดี จ.เชียงใหม่ มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ (for-sogi) ผู้แทนจาก Sisters Nan และผู้แทนชุมชน LGBTQIAN+ จากส่วนภูมิภาค

 

      ในที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาร่างแบบสอบถามสถานะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการด้านการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่ม LGBTQIAN+ พร้อมให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมถึงแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับกลุ่ม LGBTQIAN+ ทั้งนี้นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่าย LGBTQIAN+ พร้อมประสานความร่วมมือและให้การสนับสนุนในการขับเคลื่อนโครงการนี้อย่างเต็มที่

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน