กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
การประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2567 “44 ปี พระเมตตา พัฒนาการศึกษา รักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญา รากฐานความมั่นคงของชาติ”
|
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประจำปี 2567 “44 ปี พระเมตตา พัฒนาการศึกษา รักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญา รากฐานความมั่นคงของชาติ” ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร
กรมอนามัย ในฐานะหน่วยงานร่วมสนองงาน พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
นำโดยแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ นายแพทย์วันฉัตร ชินสุวาเทย์ ผู้อำนวยการ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ และนักวิชาการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สำนักโภชนาการ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ร่วมเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท ร่วมประชุมวิชาการและร่วมจัดนิทรรศการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพระราชดำริ หัวข้อเรื่อง “ การทดสอบสมรรถภาพทางกาย” จากข้อมูลระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบว่า กลุ่มเด็กวัยเรียนวัยรุ่น (อายุ 5-17 ปี) มีกิจกรรมทางกายเพียงพอเพียงร้อยละ 21.4 และมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดยมีค่าเฉลี่ยสูงเกินกว่า 14 ชั่วโมงต่อวัน (เป้าหมายไม่เกิน 13 ชั่วโมงต่อวัน) ดังนั้นเด็กและเยาวชน ควรได้รับการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย โดยให้ออกกำลังกายให้มากขึ้น หรือเล่นกีฬา กระโดด โลด เต้น เล่น อย่างน้อย 60 นาที ทุกวัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรง และกำหนดแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย ให้เหมาะสม โดยการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ อย่างน้อย ปี ละ 2 ประกอบด้วย 4 รายการมี ดังนี้
นอกจากนี้ มีการแสดงนิทรรศการแนวปฏิบัติที่ดี อาทิ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการส่งเสริมอาชีพ ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย ของสถานศึกษาต้นสังกัด 7 หน่วยงาน หน่วยงานสนับสนุน 11 หน่วยงาน ด้วย