คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การอภิปรายเรื่อง เข้าใจและเข้าถึงความต่าง แง่มุมการส่งเสริมสุขภาวะบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+)” Understanding Sexual Diversity of Health Promotion with LGBTQIAN+ Persons

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.10.2567
50
0
แชร์
10
ตุลาคม
2567

 

การอภิปรายเรื่อง "เข้าใจและเข้าถึงความต่าง แง่มุมการส่งเสริมสุขภาวะบุคคล

ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+)” Understanding Sexual Diversity

of Health Promotion with LGBTQIAN+ Persons

 

 

     เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมอนามัย และผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ          เป็นประธานมอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร ดังนี้

      1. ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

      2. ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  

      3. คุณภูเบศร์ ปานเพ็ชร์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสุขภาพจิตและคนข้ามเพศ มูลนิธิเอ็มพลัส (MPLUS)

      และผู้ดำเนินรายการ คุณศศิประภา คำธิ เจ้าหน้าที่ให้การปรึกษา ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านวิจัยโรคติดเชื้อเด็กและวัคซีน  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      ในการอภิปราย เรื่อง ”เข้าใจและเข้าถึงความต่าง แง่มุมการส่งเสริมสุขภาวะบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+)” Understanding Sexual Diversity of Health Promotion with LGBTQIAN+ Persons ในงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567  “Harmony Health: A Journey to Well-being” สมดุลสุขภาพและเส้นทาง  สุขภาวะที่ดี ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 ตุลาคม 2567 ณ Symposium 10 ห้อง Board Room ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์     คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม คือ นักวิชาการ และเครือข่าย ในระบบ on side จำนวน 70 คน ในการนี้ผู้รับผิดชอบงานคือ กลุ่มสร้างเสริมศักยภาพเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

ประเด็นสำคัญ

ปัจจุบันประเทศไทยเปิดกว้างและให้การยอมรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) มากขึ้น โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ  "การเคลื่อนไหวทางสังคม" (Social Movement) ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่การผ่านกฎหมาย พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ซึ่งจะมอบสิทธิให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) สมรสกันได้ตามกฎหมาย และได้รับสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ในฐานะคู่สมรสเช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิง โดยกฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่  22 มกราคม 2568 แม้ว่าสังคมจะเริ่มเปิดรับกลุ่มบุคคลนี้มากขึ้น แต่เมื่อเข้าสู่บริบทของครอบครัวการยอมรับในความหลากหลายทางเพศมักจะลดลง ซึ่งสร้างความกังวลและเป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายครอบครัว สาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับบริบทและวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกในสังคมไทย ที่หน่วยงานต่างๆ ยังคงมี ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับสิทธิความเท่าเทียมของกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ทำให้บางครั้งพวกเขาต้องเผชิญกับการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมจากทั้งหน่วยงานรัฐและสมาชิกในสังคม นี่คือความท้าทายที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดัน  เพื่อสร้างความเข้าใจและการยอมรับ “ความแตกต่างและความหลากหลายทางสังคม” ไม่เพียงแต่ในแง่ของความหลากหลายทางเพศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความหลากหลายของปัจเจกชน ความคิด เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้างมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

 

ข้อเสนอแนะและแนวโน้มในอนาคต

           การบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐบาลและทุกภาคส่วนของสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยรวมถึงการผลักดัน เชิงนโยบายเพื่อขยายคลินิกดูแลสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น การผลักดันกฎหมายเพื่อให้การเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นไปอย่างเท่าเทียม การสร้างระบบบริการสุขภาพที่ตอบสนองต่อความหลากหลายทางเพศ และการส่งเสริมหลักสูตรความหลากหลายทางเพศในสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทในการผลิตบุคลากรทางการศึกษาและการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีการปรับเนื้อหาการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องกับสังคมที่มีความหลากหลาย และการสร้างสื่อสารสาธารณะเพื่อให้สังคมเข้าใจในทิศทางเดียวกันว่า บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) คือ คนธรรมดาในสังคม ไม่ใช่คนที่แตกต่าง แต่เป็นผู้ที่ต้องการสิทธิและความเท่าเทียมเช่นเดียวกับชายหญิงทั่วไปในสังคม

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน