คุณกำลังมองหาอะไร?

กิจ

กิจกรรมบรรยายและ Workshop “Fantastic parenting guide for smart kids : ทักษะสุดเฉียบเพื่อพ่อแม่สร้างเด็ก smart kids”

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.10.2567
21
0
แชร์
10
ตุลาคม
2567

 

กิจกรรมบรรยายและ Workshop

“Fantastic parenting guide for smart kids :

ทักษะสุดเฉียบเพื่อพ่อแม่สร้างเด็ก smart kids”

 

 

      เมื่อวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 – 10.30 น. สำนักส่งเสริมสุขภาพ โดยกลุ่มมารดาและเด็กปฐมวัย จัดกิจกรรมบรรยายและ Workshop ในงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ณ Symposium 7 ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวชั่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวิทยากร ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ บรรยายในหัวข้อ “Fantastic parenting guide for smart kids : ทักษะสุดเฉียบเพื่อพ่อแม่สร้างเด็ก smart kids” ที่มุ่งเน้นเสริมสร้างแนวทางการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกให้กับครอบครัวและผู้ดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กเติบโตสมวัย มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา   ภายใต้กิจกรรม Workshop ฝึกทักษะการใช้วินัยเชิงบวก ดังนี้

          1) “คล้องแขน คล้องใจ” “ห้าม ไม่ อย่า หยุด”  

          2) พัฒนาการด้านจิตใจของลูกน้อย

          3) เกม 2 แถว "พัฒนาการตามวัย หรือ ปัญหา“

          4) เทคนิคปลอบก่อน สอนที่หลัง

          5) ภาพที่เห็น เรา จะสอนหรือปลอบ

บทสรุปและผลกระทบ:

          การเสริมสร้างแนวทางการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกให้ครอบครัวเป็นกุญแจสำคัญในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู ผู้ดูแลเด็ก มีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการเลี้ยงดูเด็ก โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือเพื่อให้เด็กเติบโตได้เต็มศักยภาพ   มีการเจริญเติบโตแข็งแรงมีพัฒนาการสมวัย และมีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป

รายนามวิทยากร

      1. ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำหลักสูตรพัฒนาการมนุษย์ 

          สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

      2. คุณอภิรักษ์ ตาแม่ก๋ง นักกิจกรรมบำบัด 5 โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

      3. คุณวรวลัญช์ โพธยานุกูล นักวิจัยอิสระ วิทยากรหลักสูตรทักษะการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะสมอง EF

         (Executive Function)

      4. คุณปรารถนา สัตนาโค นักวิจัยอิสระ ผู้ช่วยสอนวิชา เทคนิคการใช้วินัยเชิงบวก และการส่งเสริมทักษะสมอง EF

         สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน