คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนาเด็กในถิ่นทุรกันดาร “Smart Healthy Happy child”

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

09.10.2567
30
0
แชร์
09
ตุลาคม
2567

 

การพัฒนาเด็กในถิ่นทุรกันดาร “Smart Healthy Happy child”

 

 

      เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดการอภิปราย เรื่อง “การพัฒนาเด็กในถิ่นทุรกันดาร “Smart Healthy Happy child"" ในงานงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567  “Harmony Health: A Journey to Well-being” สมดุลสุขภาพและเส้นทางสุขภาวะที่ดี ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 ตุลาคม 2567 ณ ห้อง Mars ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมีผู้ร่วมประชุม Onsite จำนวน 50 คน และ ผ่านระบบ Online

 

วิทยากรอภิปราย 1

1. ครูจุฬาลักษณ์ ทิศเป็ง โรงเรียนบ้านขุนน้ำน่าน จ.น่าน

2. ครูกฤศณัฏฐ์ เฉลิมพงษ์ โรงเรียนวัดหงส์ปทุมาวาส จ.ปทุมธานี

3. ครูดาบตำรวจหญิงสาริศา หัสดง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านน้ำอ้อม จ.สระแก้ว

4. ครูนิติชน พหลทัพ โรงเรียนบ้านโนนสะอาดห้วยตะกั่ววิทยา จ.ขอนแก่น 

5. ดร.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร วิทยากรดำเนินรายการ

วิทยากรวิพากษ์ฯ

1. ดร.อภิสิทธิ์ พึ่งพร ผอ.โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม
บรมราชกุมารี

2. พลตำรวจตรีกิตติศักดิ์ จำรัสประเสริฐ รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

3. อ.ทศวรรษ เกิดติ๋ง ผอ.กลุ่มโครงการพิเศษตามพระราชดำริ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สพฐ. 

ประเด็นสำคัญ 

      วันที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 14.30 – 16.30 น. ณ Symposium 6 ห้อง Mars ชั้น 3 การอภิปรายเรื่อง การพัฒนาเด็กในถิ่นทุรกันดาร “Smart Healthy Happy child”  มีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานเด่นด้านการพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โดยสถานการณ์

   - ด้านสุขภาพ เด็กและเยาวชนถิ่นทุรกันดารในโครงการตามพระราชดำริ ในปี 2567
กลุ่มเด็กและเยาวชน เข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพเพียง ร้อยละ 53.35 (ค่าเป้าหมายร้อยละ 50) ด้านภาวะโภชนาการมีภาวะเตี้ย ร้อยละ 8.01 (ค่าเป้าหมายไม่เกินร้อยละ 9.5) มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 8.78 (ค่าเป้าหมายไม่เกินร้อยละ 11.5) สะท้อนถึงภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ ที่อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กและเยาวชน

   - ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบางแห่ง ด้านน้ำบริโภค พบยังมีการปนเปื้อนแบคทีเรียไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ส้วมและขยะ ยังขาดการพัฒนาให้ถูกสุขลักษณะ หากปัญหาเหล่านี้ขาดการแก้ไขและช่วยเหลืออย่างจริงจัง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชนในระยะยาวได้ ทั้งนี้นับเป็นโอกาสดีที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต้นแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชน แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพแข็งแรง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน