คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.07.2567
22
0
แชร์
26
กรกฎาคม
2567

 

การประชุมชี้แจงการดำเนินงาน

โครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย

ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

 

 

      วันนี้ (26 กรกฎาคม 2567) เวลา 08.00 – 09.00 น. แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย ประธานการประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เพื่อครอบครัวไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยมีนายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมอนามัย และผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ เข้าร่วมประชุม เพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ประธาน Service Plan สาขาทารกแรกเกิด ประธาน Service Plan สาขาแม่และเด็ก ประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย กลุ่มมารดาและเด็กปฐมวัย และศูนย์ประสานงานโครงการพระราชดำริฯ สำนักส่งเสริมสุขภาพ เข้าร่วมประชุม

มีมติที่ประชุม ดังนี้

  1. จะจัดทำ SOP เพื่อการดำเนินงานตามโครงการฯ เป้าหมายลดภาวะคลอดก่อนกำหนดและการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด เน้น Early warning sign  Early diagnosis Early progesterone โดยการมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลในพื้นที่ 25 จังหวัด และเชิญมาประชุมร่วมกัน
  2. การดำเนินงาน 25 จังหวัด จะได้รับงบประมาณ บางส่วนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร เพื่อเป็นงบในการดำเนินงานเท่านั้น (ไม่ซื้อครุภัณฑ์และยา) อีก 52 จังหวัดที่เหลือเป็นการดำเนินงาน ผ่าน SP ระดับประเทศ เขต จังหวัด /MCH Board เป็นต้น
  3. การกำกับติดตาม โดยนายแพทย์สสจ. และ ผตร.
  4. การพัฒนา NICU การซื้อครุภัณฑ์ต่างๆ ให้ใช้งบประมาณเขตสุขภาพ
  5. ยา Progesterone ให้เบิกจ่าย จาก สปสช.
  6. เชิญ ประธาน SP สาขา แม่และเด็ก /ทารกแรกเกิด ประธานชมรม นายแพทย์ สสจ. ประธานชมรม รพศ/รพท. รพช. ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม

  1. ให้นำ SOP เรื่องการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด และการดูทารกเกิดก่อนกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นข้อมูลในการจัดทำ draff SOP
  2. ต้องทำความเข้าใจกับฝ่ายกระทรวงมหาดไทยในระดับชุมชนในการดำเนินงานร่วมกันกับฝ่ายสาธารณสุข และควรจัดทำ SOP ให้กับชุมชน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน